เมนู

อรรถกถาทุติยวรรค


คาถาที่ 1-2


คาถาที่ 1


11) สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริธีรํ
อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ
จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.

ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้
เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์
ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มี
สติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

คาถาที่ 2


12) โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริธีรํ
ราชา รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย
เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค.

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน
ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์
ไซร้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น
อันพระองค์ทรงชนะแล้ว เสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อ
มาตังคะ ละโขลงเที่ยวไปอยู่ในป่าแต่ตัวเดียวฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 1 และที่ 2 แห่งทุติยวรรค ดังต่อไปนี้.
บทว่า นิปกํ ผู้มีปัญญา คือบัณฑิตผู้มีปัญญาตามปกติ ผู้ฉลาดใน
บริกรรมมีกสิณบริกรรมเป็นต้น. บทว่า สาธุวิหารึ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี
คือประกอบด้วยอัปปนา หรืออุปจาร. บทว่า ธีรํ คือ ผู้พร้อมด้วยปัญญา.
ในบทนั้นท่านกล่าวว่า ถึงพร้อมด้วยปัญญา เพราะอรรถว่า เป็นผู้ฉลาด.
แต่ในที่นี้มีความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. ความเป็นผู้มีความเพียรไม่
ย่อหย่อนชื่อว่า ธิติ. บทนี้เป็นชื่อของความเพียร อันเป็นไปอย่างนี้ว่า
กามํ ตโจ นหารุ จ หนังและเอ็นจะแห้งเหือดไปก็ตาม ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีโร เพราะเป็นผู้เกลียดบาปดังนี้บ้าง. บทว่า ราชาว
รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย
ดังพระราชาผู้สละแว่นแคว้นที่พระองค์ทรงชนะแล้ว
คือเหมือนพระราชาผู้เป็นศัตรูทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่พระองค์ชนะจะนำ
ความพินาศมาให้ จึงทรงละแว่นแคว้นนั้นเสีย. บทว่า เอโก จเร คือ ละ
สหายผู้เป็นพาลอย่างนี้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า ราชาว
รฏฺฐํ
มีอธิบายว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระเจ้าสุตโสมทรงละ
แว่นแคว้นที่พระองค์ชนะแล้ว เสด็จไปพระองค์เดียว และมหาชนกก็เสด็จ
ไปพระองค์เดียวฉะนั้น. บทที่เหลือสามารถรู้ได้โดยทำนองเดียวกับที่กล่าว
แล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่กล่าวให้พิสดาร. ไม่มีอะไรที่จะพึงกล่าวในนิเทศ.
จบคาถาที่ 1-2

คาถาที่ 3


13) อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ
เสฏฺฐา สมา เสวิตพฺพา สหายา
เอเต อลทฺธา อนวชฺชโภชี
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น
พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหาย
ผู้ประเสริฐสุด และผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภค
โภชนะอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คาถาที่ 3 ง่ายโดยความของบท.
พึงทราบ สหายสมฺปทา สหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมในบทนี้ว่า
สหายสมฺปทํ อย่างเดียว คือสหายผู้ถึงพร้อมด้วยขันธ์มีศีลขันธ์เป็นต้น
แม้เป็นอเสกขะ. แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า เราสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรมที่ท่านกล่าวแล้วแน่นอน. ท่านกล่าวว่า เราชมเชยโดยส่วนเดียว
เท่านั้น. ชมเชยอย่างไร ควรคบสหายที่ประเสริฐกว่า หรือเสมอกัน.
เพราะเหตุไร เพราะเมื่อคบผู้ประเสริฐกว่าตนด้วยศีลเป็นต้น ธรรมมีศีล
เป็นต้น ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
เมื่อคบผู้เสมอกัน ธรรมทั้งหลายที่ได้ด้วยการทรงไว้เสมอกัน และกันด้วย
การบรรเทาความรำคาญแล้วย่อมไม่เสื่อม. เมื่อไม่ได้สหายผู้ประเสริฐกว่า
และเสมอกัน ควรเว้นมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น แล้วบริโภค
โภชนะอันเกิดโดยธรรม โดยเสมอ และไม่ยังความคับแค้นให้เกิดขึ้น
บริโภคปัจจัยอัน ไม่มีโทษ กุลบุตรผู้ใคร่ในตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน